ตะกอน – สารเคลือบเงา – ผลิตภัณฑ์ออกซิเดชั่น
[vc_row][vc_column][vc_column_text]
มีสารปนเปื้อนที่ไม่ละลายน้ำหลายประเภทถูกพบในระบบไฮดรอลิกและระบบหล่อลื่น สารปนเปื้อนที่ไม่ละลายน้ำซึ่งวัสดุของมันจะไม่ละลายในน้ำมันด้วยเช่นกัน
สารปนเปื้อนที่ไม่ละลายน้ำจำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ อนุภาคสิ่งสกปรก, เศษอนุภาคที่ถูกทำลายสึกกร่อน และ สิ่งปนเปื้อนที่อ่อนนุ่ม ซึ่งเป็นสาเหตุการเสื่อมสภาพของน้ำมัน
สารเคลือบเงาและตะกอนเกิดจากสารปนเปื้อนที่อ่อนนุ่มมีลักษณะเป็นฟิลม์บาง ๆ ไม่ละลายน้ำและเกาะอยู่ภายในพื้นผิวของระบบหล่อลื่นอยู่ตลอดเวลา ตะกอนจะเป็นตัวเร่งกระบวนการเสื่อมสภาพของน้ำมันหล่อลื่น เมื่อสัมผัสอย่างต่อเนื่องกับอากาศ น้ำ ตัวเร่งปฏิกิริยา (อนุภาคโลหะ) และอุณหภูมิที่สูง การปนเปื้อนของตะกอนเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะนึกถึงเกี่ยวกับการปนเปื้อนของอุปกรณ์เครื่องมือระบบไฮดรอลิก อย่างไม่ต้องสงสัย ความจริงคือตะกอนมีอยู่ในระบบไฮดรอลิกและระบบลื่นทุกประเภท
จากการกำหนดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตะกอนว่าเป็น “มลภาวะอ่อน ๆ” ไม่สามารถนำมาตรวจวัดได้ในการตรวจวิเคราะห์น้ำมันจึงทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ตะหนักถึงการมีอยู่ของตะกอนภายในน้ำมัน
การเกิดตะกอนอาจมีผลกระทบอย่างมาก ได้แก่
- เพิ่มอัตราการสึกหรอ
สารเคลือบเงาที่เกิดจากการปนเปื้อนอย่างมากสร้างพื้นผิวที่มีฤทธิ์กัดกร่อนซึ่งเป็นตัวเร่งการสึกหรอของเครื่องจักร - ลดประสิทธิภาพของเครื่องระบายความร้อน
ตะกอนจะเข้าไปติดตามท่อกลายเป็นชั้นฉนวนกันความร้อนและลดความเย็นในการแลกเปลี่ยนความร้อน ส่งผลให้ลดประสิทธิภาพการระบายความร้อนและส่งผลให้อุณหภูมิในการทำงานสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลให้ใช้พลังงานเพิ่มขึ้นและการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในนำมันที่รวดเร็วยิ่งขึ้น - ไส้กรองหลักตันเร็ว
ตะกอนเหนียวนั่นคือสารเรซิ่นและมันจะเข้าไปอยู่ด้านหลังของรูพรุนของไส้กรอง และทำให้ไส้กรองตันอย่างรวดเร็ว สิ่งนี้นำไปสู่การลดลงของอัตราการไหล และมีแรงดันที่สูงขึ้น และส่งผลให้การขับเคลื่อนการทำงานที่ช้าลง เมื่อมีน้ำมันหมุนเวียนยากมากขึ้น อาจทำให้ปั๊มเกิดโพรงไอน้ำ สิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น และเครื่องจักรชำรุด ดังนั้น ผู้ใช้งานต้องเปลี่ยนไส้กรองหลักบ่อยครั้งขึ้น - วาล์วเกิดการอุดตันหรือทำงานได้ไม่ดี
การเกิดขึ้นเรซิ่นจะเพิ่มแรงเสียดทานให้สูงกว่าค่าปกติ 5-6 เท่า สิ่งนี้จะส่งผลให้เกิดความต้องการใช้พลังงานในปริมาณสูงและอาจเป็นสาเหตุให้วาล์วติดหรือยึด - ลดบริเวณที่มีช่องว่างส่งผลต่อระบบหล่อลื่น
มักหมายถึงการประสานกันของฟิลม์กับน้ำมันหล่อลื่นทำให้เพิ่มการสึกหรอของปั๊ม เฟือง และวาล์ว - เพิ่มอัตราการสึกหรอ
สารเคลือบเงาที่เกิดจากการปนเปื้อนอย่างมากสร้างพื้นผิวที่มีฤทธิ์กัดกร่อนซึ่งเป็นตัวเร่งการสึกหรอของเครื่องจักร - ระบบเกิดการผุกร่อน
อันเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพของโลหะและเร่งการเสื่อมสภาพของเครื่องจักรอันเนื่องมาจากองค์ประกอบของความเป็นกรด - เพิ่มงานบำรุงรักษา
ต้องใช้ทรัพยากรและค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นในการทำความสะอาด Vanish ออกจากระบบ
[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]
Tags In
Categories
- News (4)
- กลุ่มลูกค้า (12)
- ประโยชน์ที่ได้รับ (2)
- ผลิตภัณฑ์ (9)
- สินค้าขายดี (4)
- เครื่องกรองน้ำมัน (2)
- เครื่องกรองระบบล้างย้อน (1)
- เครื่องกำจัดฟองอากาศ (1)
- เครื่องแยกตะกอน (1)
- เครื่องแยกน้ำมัน (1)
- เทคโนโลยี (6)
- ไส้กรอง (19)