[vc_row][vc_column width=”2/3″][vc_column_text]

อนุภาคของแข็งนั้นเกิดการสะสมและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ในระบบไฮดรอลิก
อนุภาคเหล่านี้จะไหลผ่านระบบไฮดรอลิกภายใต้แรงดันสูงและด้วยความเร็วสูงในส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องจักร (ปั๊ม วาล์ว ซีล และกระบอกสูบ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุภาคขนาดเล็กจิ๋วที่มีขนาดเท่ากับหรือเล็กกว่าช่องว่างไดนามิกที่สำคัญ (ขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน) จะเป็นอันตรายมากที่สุด เพราะสามารถผ่านส่วนที่แน่นหนาที่สุด และอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่พื้นผิวด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้

เมื่อปั๊มควบคุมแรงดันและเซอร์โซวาล์วมีระยะห่างแคบ (ขนาด 1-10 ไมครอน) อุปกรณ์ดังกล่าวจึงมีความไวสูงต่ออนุภาคสิ่งสกปรกขนาดเล็ก โรงงานผู้ผลิตส่วนใหญ่จึงระบุไว้ในเอกสารว่า อุปกรณ์ประเภทนี้ต้องใช้น้ำมันทีีมีีความสะอาดบริสุทธิ์ซึ่งมีค่าความบริสุทธิ์ในเกรดที่ดีกว่า NAS 6 หรือ ISO 15/12 เพื่อหลีกเลี่ยงเครื่องจักรหยุดทำงานและเพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานยิ่งขึ้น

[/vc_column_text][/vc_column][vc_column width=”1/3″][vc_empty_space height=”60px”][vc_single_image image=”3256″ img_size=”large”][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column width=”1/4″][vc_empty_space height=”60px”][vc_single_image image=”3257″ img_size=”large”][/vc_column][vc_column width=”3/4″][vc_column_text]

คุณรู้หรือไม่ว่าปั๊มที่มีอัตราการไหล 200 ลิตร/นาที และมีน้ำมันปนเปื้อน (NAS 12 หรือ ISO 21/18) ต้องสูบอนุภาคสกปรกมากกว่า 3,000 กก. ต่อปี ซึ่งปั๊มที่ใช้น้ำมันสะอาด (NAS 4 หรือ ISO 12/9) ต้องการสูบอนุภาคสกปรกเพียง 6กก. นอกจากนี้โลหะยังเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและเร่งกระบวนการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของน้ำมัน โดยกระบวนการออกซิเดชั่นนี้จะเกิดผลเสียต่อสารเพิ่มประสิทธิภาพในน้ำมัน สารดังกล่าวจะยึดเกาะกับอนุภาคโลหะและขัดขวางการสัมผัสโดยตรงระหว่างน้ำมันและโลหะ ซึ่งทำให้สารเพิ่มประสิทธิภาพจะค่อยๆ เสื่อมสลายหมดไป

อนุภาคโลหะขนาดเล็กก่อให้เกิดผลเสียอย่างมาก เนื่องจากมีการเกาะติดพื้นผิวมากขึ้นเรื่อยๆ (อนุภาคขนาดเล็กจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามปริมาณของตะกอนที่เกาะติดอยู่) ผลเสียที่ตามมา: มีมลภาวะในน้ำมันสูงขึ้น มีกรดในน้ำมันมากขึ้น และน้ำมันสูญเสียคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีรวดเร็วยิ่งขึ้น การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันจึงเป็นทางออกเพียงทางเดียว

[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column width=”2/3″][vc_column_text]

สาเหตุของการเกิดความผิดพลาดของเซอร์โววาล์ว

  • การหมุนของวาล์วเจ็ต อนุภาคขนาดใหญ่อาจติดอยู่ภายในของช่องทางแคบๆ นี้ได้และก่อให้เกิดความผิดปกติกับการทำงานของการหมุนวาล์ว
  • การหมุนในระยะแรก: เข็มลูกบอลจะหมุนไปตำแหน่งแรกของหลอดวาล์ว แต่จะมีอนุภาคโลหะขนาดเล็ก (เล็กกว่า 10 ไมครอน ) ทำให้พื้นผิวของลูกบอลเกิดการสึกหรอ ส่งผลให้ลูกบอลค่อยๆ เปลี่ยนรูปทรงเป็นทรงไข่ทีละน้อยทำให้เกิดการหมุนที่ไม่ถูกต้องของหลอดวาล์วหลัก
  • ปลายหลอดของเซอร์โววาล์วจะปิด-เปิดอยู่ที่ศูนย์องศา (zero-overlap) ซึ่งปลายหลอดวาล์วจะชำรุดเพราะ อนุภาคโลหะขนาดเล็กทำให้เกิดการรั่วไหลและก่อให้เกิดความผิดปกติกับการทำงานของวาล์ว
  • ในกรณีที่มีเรซิ่นในปริมาณสูง เรซิ่นจะติดแน่นกับหลอดวาล์ว นอกจากนี้อนุภาคโลหะยังอาจติดอยู่ระหว่างช่องกลไกแคบๆ และทำการปิดกั้นวาล์วเอาไว้หมด

 

[/vc_column_text][/vc_column][vc_column width=”1/3″][vc_empty_space height=”60px”][vc_single_image image=”3258″ img_size=”large”][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column width=”1/2″][vc_single_image image=”3259″ img_size=”large” alignment=”right”][/vc_column][vc_column width=”1/2″][vc_single_image image=”3260″ img_size=”large”][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_single_image image=”3261″ img_size=”large” alignment=”center”][/vc_column][/vc_row]