[vc_row][vc_column][vc_column_text]

การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของอุณหภูมิน้ำมันเป็นสาเหตุให้เกิดการควบแน่น อย่างไรก็ตาม น้ำมีผลอย่างมากในการทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในน้ำมันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีตัวเร่งปฏิกิริยา เช่น ทองแดง (CU) หรือ เหล็ก (FE):

ตัวอย่าง น้ำ  ทองแดง ระยะเวลา  ค่าความเป็นกรด (T.A.N.)
1 ไม่ ไม่ +3500 hrs 0,17
2 ใช่ ใช่ 400 hrs 11,20

ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นจะเกิดอย่างต่อเนื่องยาวนานขึ้นกว่าเดิม ระดับค่าความเป็นกรดของน้ำมัน (T.A.N.) เพิ่มสูงขึ้น เมื่อระดับค่าความเป็นกรดถึงปริมาณ 2,00 mg KOH/gr อาจต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์เครื่องจักร

[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column width=”2/3″][vc_column_text]

น้ำสามารถลดอายุการใช้งานของเครื่องจักรไฮดรอลิกได้มากกว่า 50%

เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนในเครื่องจักรที่ทันสมัยมักมีน้อยมาก ทำให้ชิ้นส่วน ที่เคลื่อนไหวผลัดกันสร้างแรงดันและสุญญากาศขึ้นมาภายในสุญญากาศ ความชื้นจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก (สูงสุด 1/5000วด้วยอุณภูมิ 70 องศาเซลเซียส) และจะก่อให้เกิดการระเบิดบนบริเวณพื้นผิวของชิ้นส่วนเครื่องจักร

ในทางกลับกันสิ่งนี้จะสร้างอนุภาคสึกหรอใหม่และส่งผลให้บริเวณพื้นผิวสูญเสียการเคลือบของน้ำมันหล่อลื่น น้ำจะทำลายพื้นผิวโลหะ (กัดกร่อน) และจะค่อย ๆ เจาะเข้ารูพรุนขนาดเล็กเป็นสาเหตุให้เครื่องจักรสึกหรอและอ่อนล้า

ความชื้นที่กักเก็บไว้ภายในอาจก่อสนิมภายในที่ถังน้ำมัน การสั่นสะเทือนระหว่าง การทำงานของระบบจะไปเคาะให้อนุภาคสนิมตกลงไปในน้ำมัน และถูกดูดขึ้นโดยปั๊มและส่งกระจายไปทั่วทั่งระบบ อนุภาคสนิมใหม่จะก่อตัวขึ้นเมื่ออนุภาคเก่าตกลงไปแล้ว และวงจรการปนเปื้อนจะไม่มีวันจบสิ้น

นอกจากนี้น้ำยังยังเป็นสภาพแวดล้อมอันเหมาะสมอย่างยิ่งในการเพิ่มปริมาณของแบคทีเรียและสิ่งนี้จะมาทำลายประสิทธิภาพของสารเพิ่มประสิทธิภาพ

[/vc_column_text][/vc_column][vc_column width=”1/3″][vc_empty_space height=”40px”][vc_single_image image=”3251″ img_size=”large”][/vc_column][/vc_row]